feel
ขอคำแนะนำการขับรถเกียร์ออโต้ (city 2012) ขึ้นเขาด้วยครับ (42823 views)
13 Oct 2012 18:18
ขอคำแนะนำการขับ city v-at ขึ้น-ลงเขาด้วยครับ
ไม่เข้าใจในเรื่องของเกียร์ ปกติใช้แต่ D วิ่งทางราบ ถ้าขึ้นเขา (เขาค้อ น้ำหนาว) D3 D2 D1 จะใช้ช่วงไหนครับ ให้เหมาะสมครับ
ขอประสบการณ์ด้วยครับ ขอบคุณครับ
feel
Guest
Webmaster
14 Oct 2012 08:57 #1
จริงๆคำว่าเกียร์ออโต้ จะเป็นระบบที่เปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัติอยู่แล้ว รถจะเข้าเกียร์และลดเกียร์ให้เองตามอัตราการเร่งของเครื่อง ถ้าเราขับเจอทางลาดชันปกติไม่ได้เป็นทางไกลมาก ก็สามารถวางตำแหน่งเกียร์ให้อยู่ใน D ได้
ตำแหน่งเกียร์ D หมายถึง ระบบเกียร์ 4 หรือ 5 จังหวะ คือ เทียบเท่าเกียร์ธรรมดา เกียร์ 1-2-3-4-5 ซึ่งถ้าอยู่ในตำแหน่ง D รถจะเปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัต เป็นเกียร์ 1-2-3-4-5 ตามอัตราเร่งของเครื่องในขณะนั้น
นอกเหนือจากนั้น เกียร์ออโต้ ยังสามารถปรับ ให้เป็นกึ่งๆ manual ได้ โดยการเลื่อนเกียร์ไปที่ ตำแหน่ง D1 D2 หรือ D3 แต่ไม่ใช่ว่าอยากเลื่อนเป็นอะไรก็เลื่อน เพราะแต่ละตำแหน่งมีข้อจำกัดแตกต่างกันค่ะ
D1 คือ เกียร์ 1 กลับไปหลักการเกียร์ธรรมดาเลยค่ะ เกียร์ 1 ใช้สำหรับขึ้นหรือลงทางชัน รถจะใช้ได้เกียร์เดียว คือ เกียร์ 1
D2 คือ รถสามารถเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ได้เอง แค่ เกียร์ 1-2 ใช้ในกรณีที่ต้องการ Engine Break มาก ๆ อย่างเช่น การลงเขาแบบที่มีระยะทางยาวสักหน่อย หรือลงทางชันมากๆหรือขึ้นทางชัน เพราะอย่างที่สอนในกียร์ธรรมดา รถจะมีแรงส่งตัวเองขึ้นไป แต่พอขึ้นได้ ก็ถอนคันเร่งนะ ไม่งั้นความร้อนขึ้น เพราะรถมีแรงส่งตัวแต่ไม่มีแรงวิ่งเมื่อเทียบกับเกียร์สูง
D3 (บางคันไม่มี) คือ รถสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ แค่ 1-2-3 โดยที่ระบบมันจะไม่เปลี่ยนเกียร์ไปที่เกียร์ 4 สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น จะใช้เมื่อเราไม่จำเป็นต้องใช้เกียร์ 4 หรือ เกียร์ 5 ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เวลาลงเขาทางชัน รถเราลงมาเร็ว ตามแรงโน้มถ่วงของโลก ไม่ได้เกิดจากอัตราเร่งของรถ คือ เราไม่ต้องเหยียบคันเร่งมาก แต่รถไปก็สามารถไหลลงมาเองได้เพราะทางลงมันชัน ถ้าเราอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ D รถมันก็จะไม่เข้าใจ ว่าที่รถมันเร็วไม่ได้เกิดเพราะเหยียบคันเร่ง มันก็จะเปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัตเป็นเกียร์ที่สูงขึ้นตามความเร็วของรถ แต่จริง ๆ เครื่องยนต์มันไม่ได้ทำงาน ทำให้เกียร์มันไม่สมดุลกับการทำงานของเครื่องนต์ ดังนั้นเราเลยต้องจำกัดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับขึ้นเขา ลงเขา ก็จะใช้หลักการการใช้เกียร์ของเกียร์ธรรมดา ทางไม่ชันเท่าไหร่ ก็เกียร์ 3 ก็ลงเขาได้ ทางชันมากก็ต้องเกียร์ต่ำ พอรถลงเขา ก็การใช้เกียร์ต่ำ จะทำให้ engine break ทำงาน รถจะได้มีแรงฉุด ไม่พุ่งลงมาเร็วมากเลาที่เราใช้เกียร์ต่ำ engine break จะทำงาน คือ เครื่องยนต์ช่วยเบรค รถจะมีแรงหนืดค่อยรั้งเอาไว้ ถ้าเป็นเกียร์ที่สูงในเกียร์ออโต้ เช่น เกียร์4 มันจะไม่มี engine break แล้ว เพราะเกียร์สูงแปลว่ารถใช้ความเร็ว ดังนั้นถ้าเราวางตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D ปกติ เราต้องเหยียบเบรคหนักไประยะทางไกล ผลผ้าเบรคไหม้ เหม็นไหม้ รถที่ใช้ดัมเบรค จะมีประสิทธิภาพต่ำ กว่ารถที่ใช้ดิสเบรค อาจจะกิดอันตรายได้
การวางตำแหน่งเกียร์ให้ถูก ก็สามารถช่วยประหยัดน้ำมันในการเดินทางได้ค่ะ จะเข้าใจในระบบเกียร์มากขึ้น ลองกลับไปดูที่เกียร์ธรรมดาค่ะ ว่าเกียรื 1-2-3 ใช้งานต่างกันอย่างไร ในการขึ้นเขาลงเขา (ทางชัน) ต้องวางตำแหน่งเกียร์อย่างไร จะได้เข้าใจมากขึ้นว่าตำแหน่ง D1 D2 D3 ควรใช้เมื่อไหร่ เพราะความหมายมันมีอยู่ค่ะ เกียร์มันสามารถเปลี่ยนอัตโนมัติได้ถึงเกียร์อะไรเท่านั้น อย่าง D2 ก็เปลี่ยนได้แค่เกียร์ 1-2 ซึ่งรถจะเปลี่ยนให้อัตโนมัตเหมือนกัน แค่ 1-2 แต่ว่าเราต้องโยกคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง D2 เองนะ แล้วเวลารถวิ่งมันจะเปลี่ยนให้แค่ 2 เกียร์
ถ้าถามว่าอยู่ D เฉย ขึ้นทางชันมาก ลงทางชันมากได้มั้ย ได้ค่ะ แต่เวลาขึ้นต้องเราต้องกดคันเร่งหนักมาก เพื่อนดันรถมันขึ้นเขา เปลืองน้ำมัน มันเกิดเปลี่ยนเป็นเกียร์สูงขึ้นตามอัตรากการกดคันเร่ง มันก็จะยิ่งไปไม่มีแรงส่งตัว จะเล่นเอาหอบ ส่วนเวลาลงเขา เหยียบเบรคค้างแน่นอน เพราะอย่างที่อธิบายว่ารถลงตามแรงโน้มถ่วง ไม่ได้ลงตามอัตราเร่งของรถ รถมันก็เข้าใจไปเองว่ารถมันเร็ว เกียร์ก็เปลี่ยนไปเอง พอเกียร์สูง engine break จะไม่ทำงานเหมือนเกียร์ต่ำ เราก็ต้องเหยียบแช่ยาว ผลก้อผ้าเบรคไหม้ ถ้าเป็นดรัมเบรค ทางชันมากและไกล สงสัยจะหวังพึ่งมันไม่ค่อยได้ เพราะประสิทธิภาพต่ำ อายุการใช้งานสั้น ผ้าเบรคไหม้ ก็เหมือน รองเท้าที่ไม่มีเส้นใต้รองเท้าที่ทำให้เกิดแรง เพราะสึก หรือใช้งานเยอะ ก็จะลื่นเบรคไม่อยู่ เหมือนใส่รองเท้าไม่มีแรงเสียดทาน เจอน้ำก็ลื่น
ไม่รู้จะรู้เรื่องป่าวนะคะ พยายามจะอธิบายด้วยหลักง่ายๆ ไม่เข้าใจยังไงโทรถามคุณครุได้ค่ะ
Webmaster
Admin
มือใหม่เกียร์ออโต้
3 Jan 2013 07:23 #3
ขอสอบถามคับ แล้วถ้าเป็นรุ่น New city 2012 (sv at. ตัวท็อป) ไม่มี เกียร์ D1 D2. มีแต่แค่เกียร์ S จะมีวิธีการขับขึ้นทางชันเหมือนกันไหมคับ และขับอย่างไรถึงจะปลอดภัย เพราะเห็นช่างที่ศูนย์แนะนำบอกว่าเป็นเกียร์ Speed ใช้ได้แค่ เกียร์ 1 2 3 เวลาต้องการใช้ความร็วเร่งแซงบางจังหวะที่เร่งรีบ ขอคำแนะนำหน่อยคับ
มือใหม่เกียร์ออโต้
Guest
Webmaster
3 Jan 2013 14:02 #4
เกียร์ S น่าจะเทียบเท่า D3 (1-2-3) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับอัตราทดของเกียร์ด้วย ถ้าเกียร์มี 4 ระดับ เข้าเกียร์ S คือ การลากเกียร์ลงมาเกียร์ 3 ลดมา 1 ระดับ เหมือนอย่างที่ช่างที่ศูนย์แจ้งค่ะ ให้เร่งความเร็ว แซง วิ่งขึ้นเขาในที่ไม่ลาดชันเท่าไหร่นัก เพื่อเมความเร็วในการออกตัว ทำให้รถมีแรงพุ่งมากขึ้น เป็นการลดรอบเกียร์ให้ต่ำ แรงบิดเพิ่มขึ้น อัตราเร็วเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความเร็วของรถชั่วขณะ ดังนั้นจึงจะใช้วลาขึ้นทางชัน สะพาน หรือ แซง ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเพราะเปลืองน้ำมัน
เกียร์ L ก็จะเป็นเกียร์ต่ำมาจาก S อาจจะใช้ได้แค่ เกียร์ 1-2 อย่างที่อธิบายข้างต้น ใช้เมื่อทางชันมากๆ เป็นการลดรอบเกียร์ให้ต่ำสุด รถจะได้มีแรงพุ่งตัวออกไป
Webmaster
Admin
มือใหม่เกียร์ออโต้
5 Jan 2013 23:17 #5
ขอบคุนมากคับผมสำหรับคำแนะนำ...รบกวนสอบถามเพิ่มเติมเวลาที่เกียร์อยู่ตำแหน่ง D แล้วจะเปลี่ยนเป็นเกียร์ S ไม่จำเป็นต้องหยุดรถใช่หรือไม่ สามารถดึงเกียร์มาที่ตัว S ได้เลยไหม และสุดท้ายผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ว่าหากเจอทางลาดชันมากๆ (เกียร์ออโต้ 5 สปีดคับ)ให้เข้ามาที่เกียร์S และคอยดูว่ารถมีแรงส่งไหม (เกียร์ออโต้ระดับ 3)หากไม่มีแรงส่งก็ให้คอนโทรลเกียร์แพดเดิลชิพที่พวงมาลัยลงมาอีกหนึ่งระดับ (2) และหากยังไม่มีแรงส่งอีก ให้ลดมาเหลือแค่(1) ขอบคุนล่วงหน้าคับผม
มือใหม่เกียร์ออโต้
Guest
Webmaster
6 Jan 2013 08:46 #6
จากเกียร์ D เปลี่ยนเป็น S ไม่ต้องหยุดรถก็ได้ค่ะ
ส่วนการใช้ Paddle Shift ถือว่าเป็นการใช้เกียร์ระบบ Manual ในรถเกียร์ออโต้ กดปุ่ม +/- เพื่อเพิ่ม/ลดระดับเกียร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรดูที่ความเร็วของรถ หรือกำลังเครื่องยนต์ของรถในขณะนั้นด้วย เพื่อจะได้ใช้เกียร์ที่เหมาะสม เป็นการถนอมอายุการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นอย่างที่หนูพูดมา ถ้าทางชันรถไม่ีมีแรงส่งก็ต้องลดมาเหลือที่เกียร์ 1 ที่พูดมาถูกต้องทั้งหมดค่ะ
หนูถือเป็นตัวเองที่ดี การใช้อุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่ารถหรือเครื่องใช้ในส่วนเรือน etc. ถ้าเราเข้าใจหน้าที่ของอุปกรณ์ต่างๆ ศึกษามัน และใช้มันอย่างถูกวิธี 1. ปลอดภัยสำหรับตัวเรา 2. ยืดอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นไปอีก
Webmaster
Admin
Nekio
11 Jul 2013 11:01 #7
ตำแหน่งเกียร์ S คือ D1 2 3 อะไรกันครับ อย่ามั่ว ตำแหน่งเกียร์ S คือตำแหน่งของเกียร์ที่คล้ายเกียร์ระบบ Manual ครับสามารถเล่นได้ตั้งแต่เกียร์ 1-5 เลยโดยใช้ Padle shift ที่พวงมาลัย -/+ แล้วแต่ความเร็วของตัวรถ ถ้าคนที่เคยขับเกียร์ manual ก็จะรู้ดีว่าที่รอบเครื่องยนต์เท่าไหร่สมควรจะเปลี่ยนเกียร์ซึ่งเป็นการประหยัดน้ำมันและถนอมระบบเกียร์ครับ ส่วนการถอนเกียร์นั้นเราจะกด - หรือไม่ก็ได้ซึ่งระบบจะ change gear ให้ auto เมื่อความเร็วรอบต่ำลง(honda city 2012 SV/AT)
Nekio
Guest
Webmaster
11 Jul 2013 14:07 #8
ขอโทษนะคะ ตรงไหนที่มั่วค่ะ "เกียร์ S น่าจะเทียบเท่า D3 (1-2-3) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับอัตราทดของเกียร์ด้วย" ประโยคนี้หรอค่ะ ย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่ด้านบนต่อเนื่องลงมาดีกว่าค่ะ
ข้อ 1 ใช้ คำว่า เทียบเท่า ซึ่งหมายถึง หลักการใช้เหมือน D3 ในรถรุ่นเก่า คือ เมื่อต้องการเปลี่ยนเกียร์ในระบบกึ่ง Manual แล้วรถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มี ทั้ง D3 D2 D1 L S M แตกต่างกันไปแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ แต่พื้นฐานหรือหลักการใช้งาน มันไม่ได้แตกต่างกัน แค่รู้ความหมายของแต่ละสัญลักษณ์ ว่าจะใช้เมื่อใด เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน ที่เค้าจะนำไปสามารถ apply ใช้ได้ทั่วไป ไม่ได้ให้ strict แต่คันใดคันนึงค่ะ
ข้อ 2 กล่าวแจ้งไว้แล้วว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับอัตราทดของเกียร์ Honda S อาจจะได้ 3-7 speed แต่ขณะที่ S ใน มาสด้า ใช้ได้แค่ 3-4 speed หรือ 8 speed ใน Mercedes หรือ มิตซู มี 4-7 speed เพราะอัตราทดของเกียร์แต่ละรุ่นไม่เท่ากัน ขึ้นกับ spec รถ โดยปกติรถ spec ในรุ่นกลางๆ ก็จะใช้ได้ 4 speed
เกียร์ออโต้ทั่วไปจะมีตำแหน่งเหมือนกันคือ P R N D แล้วจากนั้นก็จะเป็น D4 D3 D2.. หรืออย่างอื่นตามยี่ห้อ เช่น S หรือ L เป็นต้น ที่อาจมีปุ่มปิดโอเวอร์ไดรฟ หรือจากD ไปเป็นเลือกเปลี่ยนเกียร์เอง + - ก็แล้วแต่ยี่ห้อ แต่มันจะ +/- ได้กี่สปีด (1-2-3), (1-2-3-4), (1-2-3-4-5),(1-2-3-4-5-6), (1-2-3-4-5-6-7) ขึ้นกับ spec ในแต่ละรุ่น ของแต่ละยี่ห้อ
แต่ถ้าบอกว่ามั่ว เพราะไม่ได้ strict ที่ city sv/at top ก็ขออภัยค่ะ นอกประเด็น แต่ใช้ได้ทั่วไปค่ะ
Webmaster
Admin